วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

Short-Throw Projector และ Ultra Short-Throw Projector ต่างกันอย่างไร! ต้องอ่าน

     สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้กลับมาอีกครั้ง หลังจากผมหลายหน้าหายตาไปประมาณ 1 อาทิตย์ เนื่องจากไม่สบายหนัก ไข่หวัดเล่นงาน 55 วันนี้ฟิตละ พร้อมกลับมาพบปากเพื่อนๆ พร้อมกลับมาเขียนบทความให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และได้เอาความรู้ไปใช้กันเด้อ !! ไม่เป็นการเสียเวลา ที่ผ่านมา 7-8 บท ผมพูดถึงเรื่องของ ความละเอียด ความสว่าง อัตราส่วน และอื่นๆ จนครบทั้งหมดแหละ วันนี้ผมเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เห็นหนึ่คำถาม ซึ่งผมก็มองถามปัญหานี้ไปเหมือนกัน ไม่ได้สนใจเลยด้วยซ้ำ ต้องของคุณแฟนคลับบทความ คนนั้นมาก ที่ทักเข้ามาจังหวะ พอเหมาะ พอควรจริงๆ

คำถามมีอยู่ว่า : Short Throw Projector กับ Ultra Short Throw Projector ต่างกันยังไง และถ้าคิดจะเลือกซื้อใช้งาน ควรซื้อแบบไหนดี ?
ผมอ่านดูแล้ว อึ้งไปแบบหนึ่ง ไม่คิดว่าจะลืมเรื่องนี้ได้ลง แต่ไม่เป็นไร! เมื่ออ่านแล้ว เราก็มาเริ่มบทความนี้กันได้เลย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา (ตามเดิม เด่วเกลิ่นเยอะ เพื่อนๆ หนีไปหมด 55 )

_______________*********_______________

 

หัวข้อวันนี้ : Short-Throw Projector และ Ultra Short-Throw Projector โปรเจคเตอร์ที่มีระบบเลนส์พิเศษสามารถให้ภาพได้ขนาดใหญ่แม้ในพื้นที่ที่จำกัด 

Short-Throw Projector โปรเจคเตอร์ชนิดนี้มีการจัดตั้งเลนส์เฉพาะทางที่มีความสามารถในการให้ภาพในขนาดใหญ่ด้วยระยะประชิดกับจอรับภาพ  ส่วน Ultra Short-Throw Projector โปรเจคเตอร์ชนิดนี้จะมีความสามารถมากกว่า Short-Throw Projector โดยสามารถให้ภาพได้ใหญ่กว่า และใช้ระยะห่างจากจอภาพน้อยกว่า   Projector ที่มีคุณสมบัติ Short-Throw ทำให้สามารถติดตั้งเครื่องโปรเจคเตอร์ใกล้กับจอรับภาพได้สะดวก ขึ้นผิดกับ projector ชนิดปกติ ซึ่งต้องใช้ระยะห่างจากจอรับภาพค่อนข้างมากอย่างน้อย 3 – 5 เมตรจึงจะได้ภาพขนาดใหญ่  เช่น โปรเจคเตอร์ธรรมดาที่ระยะห่างจากจอภาพ 0.7 เมตรสามารถให้ภาพขนาด 27 นิ้วแต่ถ้าเป็นโปรเจคเตอร์ ชนิด Short-Throw อาจจะสามารถให้ภาพได้ขนาด 60 นิ้ว และถ้าเป็น projector ชนิด Ultra Short-Throw ก็อาจให้ภาพได้ถึงขนาด 100 นิ้ว ฯลฯ

 

Projector ชนิด Short-Throw ออกแบบมาเนื่องด้วยการนำนำเสนอภาพขนาดใหญ่ได้แม้ว่าสถานที่ๆ ติดตั้ง projector จะมีพื้นที่จำกัดก็ตาม  ข้อดีของการที่สามารถติดตั้ง projector ได้ใกล้กับจอรับภาพคือ สามารถขจัดปัญหาในเรื่องเงาบนจอภาพในกรณีที่มีคนหรือวัตถุมาบังที่หน้าเลนส์ของโปรเจคเตอร์  Projector ประเภท Short-Throw มีราคาสูงกว่า Projector แบบธรรมดา แต่เนื่องจากติดตั้งใกล้กับจอภาพจึงสามารถให้ความสว่าง และความคมชัดได้ดีกว่าโปรเจคเตอร์แบบธรรมดา  การพิจารณานำโปรเจคเตอร์แบบ Short-throw หรือ Projector ชนิด Ultra Short-throw มาใช้งานจึงนับว่าคุ้มค่ากับการลงทันครับ ฟันธง! 

โปรเจคเตอร์ประเภท Short-Throw มีการดีไซน์ระบบเลนส์มาเป็นพิเศษ เพื่อการฉายภาพระยะใกล้ ตัวเครื่อง projector อาจมีลักษณะไม่แตกต่างจาก projector ทั่วๆ ไปแต่อย่างใด ยกเว้นในส่วนของเลนส์ซึ่งมีการออกแบบมาเป็นพิเศษ ในอดีต projectorต้องใช้ระยะทางห่างจากจอรับภาพประมาณ 3 – 5 เมตรจึงจะได้ภาพขนาดเท่ากับ 100 นิ้ว แต่สำหรับ Short-Throw Projector จะระยะในการติดตั้ง projector น้อยลง โดยที่ระยะระหว่างเครื่องโปรเจคเตอร์ถึงจอรับภาพ และขนาดภาพที่ projector ฉายได้จะเป็นตัวบ่งบอกอัตราส่วน Throw Ratio

อัตราส่วน Throw Ratio มีความสำคัญคือ สามารถนำมาคำนวนหาค่าของระยะห่าง หรือค่าความกว้างของภาพได้ สมมุติว่าติดตั้ง projector ห่างจากจอรับภาพที่ระยะ 3.6 เมตร และ projector ให้ภาพขนาด 94 นิ้วนั่นหมายความว่า จะได้อัตราส่วน Throw Ratio เท่ากับ 1.5:1 อัตราส่วน Throw Ratio ได้มาจากสูตร Distance / Width (ระยะห่างของโปรเจคเตอร์กับจอภาพหารด้วยความกว้างของภาพ) ซึ่งเมื่อนำระยะห่างคือ 3.6 มาหารด้วยความกว้างของภาพคือ 2.4 (94 นิ้วเท่ากับ 2.4 เมตร) ก็จะได้ค่า Throw Ratio เป็น 1.5

Projector ชนิด Short-Throw จะมีอัตราส่วน Throw Ratio อยู่ที่น้อยกว่า 1 และอาจจะต่ำลงไปถึง 0.4 ซึ่งหมายความว่า โปรเจคเตอร์จะสามารถให้ภาพได้ขนาด 94 นิ้วที่ระยะห่างจากจอภาพน้อยกว่า 3.6 เมตรอย่างแน่นอน ยิ่ง Projector ประเภท Short-Throw มีอัตราส่วน Throw Ratio น้อยกว่า 1 มากเท่าใด ก็จะยิ่งมีความสามารถในการให้ภาพใหญ่โดยใช้ระยะทางน้อยลง

 

_______________*********_______________

       สำหรับโปรเจคเตอร์อีกประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่าโปรเจคเตอร์ Ultra Short-Throw จะใช้ระยะห่างจากจอภาพน้อยมากในบางรุ่นอาจจะไม่ถึง 1 เมตรเท่านั้น และ Ultra Short-Throw ยังมีรูปทรงที่แตกต่างจาก projector ปกติอย่างเห็นได้ชัดเจน โปรเจคเตอร์ชนิดนี้มีอัตราส่วน Throw Ratio ต่ำมากกว่า projector Short-throw โดยบางรุ่นมีค่าต่ำกว่า 0.4 ด้วยเหตุนั้นโปรเจคเตอร์ Ultra Short-Throw จึงมีความสามารถมากกว่าโปรเจคเตอร์ Short-Throw ซึ่งปรกติมีอัตราส่วน Throw Ratio อยู่ที่ 0.6 – 0.9 โดยประมาณ ตัวอย่างโปรเจคเตอร์ Ultra Short-throw ของ เอปสัน รุ่น EB-450W มีค่า Throw Ratio อยู่ที่ 0.44:1 – 0.59:1 สามารถให้ภาพได้ขนาด 55 – 85 นิ้วที่ระยะ 0.48 – 0.76 เมตร สังเกตุว่า projector ใช้ระยะห่างจากจอภาพน้อยมากเพียงไม่ถึง 1 เมตรเท่านั้นแต่ให้ภาพได้ขนาด 85 นิ้ว

Screen Width (Image Width)

อัตราส่วน Throw Ratio ซึ่งได้มาจากระยะห่างของ projector กับจอภาพหารด้วยความกว้างขอภาพบนจอรับภาพ (Projection Distance/Image Width) ในส่วนของความกว้างของภาพ (Image Width) อาจจะเกิดความสับสนขึ้นบ้าง เนื่องมาจากสามารถวัดความกว้างของภาพได้ทั้งการวัดตามแนวนอน (Horizontal) และการวัดตามแนวทะแยงมุม (Diagonal) โดยทั่วๆไปผู้ผลิตวิทยุโทรภาพและผู้ผลิต Projector บางรายก็วัดความกว้างของภาพในแบบความกว้างตามแนวทะแยงมุม (Diagonal) ซึ่งก็สอดคล้องกับผู้ผลิตจอภาพซึ่งใช้การวัดแบบนี้เช่นเดียวกัน ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์อย่างเอปสัน และ เอ็นอีซี ก็ใช้การวัดแบบนี้ซึ่งก็จะได้อัตราส่วน Throw Ratio ที่มาจากระยะห่างของ projector กับจอภาพหารด้วยขนาดภาพวัดตามแนวทะแยงมุม (Distance / Screen Diagonal) แต่ก็มีหลายๆ บริษัทผู้ผลิตซึ่งใช้การวัดขนาดภาพตามแนวนอนอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นสำหรับอัตราส่วน Throw Ratio จึงจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลจากทางผู้ผลิตด้วยว่าทางบริษัทผู้ผลิตคำนวนอัตราส่วนนี้ด้วยข้อมูลขนาดความกว้างของภาพที่มาจากการวัดแบบใด

โปรเจคเตอร์แบบ Short-throw และ Projector แบบ Ultra Short-Throw นั้นมีออกมาหลายรุ่นจากหลากหลายบริษัทผู้ผลิตโดยมีวางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว เช่น Hitachi , Mitsubishi, Epson, Panasonic, Optoma, Dell, Acer เป็นต้น ทั้งนี้มียักษ์ใหญ่หลายค่ายที่ผลิตออกมา เพื่อนๆ ควรศึกษาให้ดีก่อนเลือกซื้อมาใช้งานนะครับ !!

_______________*********_______________

 

ปล. สำหรับวันนี้ถ้าไม่มีอะไรแล้ว กระผมขอตัวก่อนนะครับ ปั้นงานต่อ ^^ อยากรู้เรื่องไหน ขอเข้ามาได้ ทาง Facebook - Website. ถ้าว่างผมจะจัดข้อมูลให้อย่างฉับไว!! ^^ ยะฮู้วว ไปแล้ววววว

หากผู้ใช้สนใจ อ่านบทความ สามารถติดตามได้ที่นี่

เฟสบุค : www.facebook.com/projectorok
WEBSITE : www.projectorok.com

_______________*********_______________

บทความเพิ่มเติม

   เรื่องอัตราส่วน CONTRAST คลิกอ่าน

   เรื่องอัตราส่วนภาพ ASPECT RATIO คลิกอ่าน

   เรื่องเทคโนโลยีสำหรับโปรเจคเตอร์ คลิกอ่าน

   เรื่องหลอดโปรเจคเตอร์ คลิกอ่าน

   เรื่องช่องต่อสัญญาณ คลิกอ่าน

 



ที่มา : www.projectorok.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น